คือการที่ผู้รับประกันภัยตกลงจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหากเกิดความสูญเสียหรือเสียหายต่อทรัพย์สินที่ได้เอาประกันภัยไว้ ซึ่งความเสียหายนั้นสามารถประเมินมูลค่าหรือกำหนดเป็นวงเงินได้ เช่น บ้าน รถยนต์ โดยผู้เอาประกันภัยต้องชำระเบี้ยประกันภัย
ผู้เกี่ยวข้องกับสัญญาประกันวินาศภัย
- ผู้รับประกันภัย คือบริษัทประกันวินาศภัย ซึ่งหมายถึงบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย เพื่อรับประกันต่อความเสียหายต่าง ๆ
- ผู้เอาประกันภัย คือบุคคลที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินผู้รับผลประโยชน์
- ผู้รับผลประโยชน์
ประเภทของการประกันวินาศภัย1. การประกันอัคคีภัย (Fire Insurance) แบ่งเป็น1.1 การประกันอัคคีภัยคือ การประกันภัยที่คุ้มครองทรัพย์สินจากไฟไหม้ ฟ้าผ่า และการระเบิดของแก๊สที่ใช้หุงต้มหรือให้แสงสว่างเพื่อการอยู่อาศัย
1.2 การประกันอัคคีภัยและภัยพิบัติสำหรับที่อยู่อาศัยคือ การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองไฟไหม้ ฟ้าผ่า ภัยระเบิด ภัยจากยวดยานพาหนะ ภัยจากอากาศยาน ภัยเนื่องจากน้ำ ภัยพิบัติ
2. การประกันภัยรถยนต์ (Motor Insurance) แบ่งเป็น2.1 การประกันภัยรถภาคบังคับคือ การประกันภัยรถประเภทที่กฎหมายให้เจ้าของรถซึ่งใช้หรือมีรถไว้เพื่อใช้ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย เพื่อให้เกิดความคุ้มครองแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชนที่ประสบภัยเป็นสำคัญ
2.2 การประกันภัยรถภาคสมัครใจคือ การประกันความเสียหายอันเกิดจากการใช้รถยนต์ ซึ่งได้แก่ ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่รถยนต์ ความเสียหายที่รถยนต์ได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่ร่างกายและทรัพย์สินของบุคคลภายนอก รวมทั้งบุคคลที่โดยสารอยู่ในรถยนต์นั้น
3. การประกันภัยทางทะเล (Marine Insurance)คือการประกันภัยที่คุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายต่อเรือ ทรัพย์สินหรือสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่งทางทะเล และยังขยายขอบเขตความคุ้มครองไปถึงการขนส่งสินค้าทางอากาศและทางบกซึ่งต่อเนื่องกับการขนส่งทางทะเลด้วย แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ การประกันภัยตัวเรือ (Marine Hull Insurance) และ การประกันภัยสินค้า (Marine Cargo Insurance)
4. การประกันภัยเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous Insurance)คือการประกันภัยเพื่อคุ้มครองความเสียหายอันเกิดจากเหตุอื่นที่มิได้คาดหมายไว้ เช่น การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (Personal Accident Insurance) การประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก (Liability Insurance) การประกันภัยเครื่องจักรชำรุดเสียหาย
หลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าเบี้ยประกันภัยการกำหนดค่าเบี้ยประกันภัยมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. ขนาดของความเสี่ยงภัย: หากทรัพย์สินที่เอาประกันภัยมีขนาดของความเสี่ยงภัยสูง ค่าเบี้ยประกันก็จะสูงตาม เช่น ในการประกันภัยอัคคีภัย จะแบ่งลำดับของความเสี่ยงภัยตามลักษณะและจำนวนชั้นของสิ่งปลูกสร้าง และยังคำนึงถึงสถานที่ตั้ง และลักษณะการใช้งานด้วย
2. ระยะเวลาที่คุ้มครอง: หากซื้อความคุ้มครองในระยะเวลาสั้นกว่าหนึ่งปี ค่าเบี้ยประกันภัยก็จะสูง เพราะไม่ได้มีการกระจายค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของบริษัทประกันแต่รวมกันไว้ในปีเดียวกันเลย
3. จำนวนเงินเอาประกันภัย: หากจำนวนเงินเอาประกันภัยสูง ค่าเบี้ยประกันภัยก็จะสูงด้วย
สำหรับใครที่สนใจจะสมัครสมาชิกกับศรีกรุงโบรคเกอร์ จองสอบบัตรนายหน้า จองอบรมต่ออายุบัตรนายหน้า สามารถสมัครสมาชิกศรีกรุงโบรคเกอร์ได้ที่เว็บไซต์ www.srikrungmentor.com หรือแอดไลน์มาที่ @srikrungmentor เพียงกดเพิ่มเพื่อนที่ https://lin.ee/5hl2T56 หรือติดต่อสมัครสมาชิกกับศรีกรุงปทุมธานี ร้านดีดีศูนย์รวมประกันภัย รังสิตคลองสาม โทร.080-2951830 / 080-2956052 /061-8235619