ขับรถบนทางเท้าแล้วชนคน ประกันคุ้มครองหรือไม่

234 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ขับรถบนทางเท้าแล้วชนคน ประกันคุ้มครองหรือไม่

การขับรถบนทางเท้าแล้วชนคน เป็นอุบัติเหตุที่พบได้บ่อยบนท้องถนน กับผู้ที่ขับขี่ไม่มีวินัยไม่ขับขี่ตามเส้นทางจราจรที่ถูกต้อง นึกถึงแต่ตัวเองสะดวกสบายเป็นหลักโดยไม่คำนึงถึงผู้อื่นที่อยู่บนท้องถนน
สำหรับอุบัติเหตุดังกล่าวทำให้ต้องมีบทลงโทษตามกฎหมายจราจร ต้องเสียค่าปรับเพื่อให้เกิดความสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งที่ทำลงไป แต่สำหรับเหตุการณ์เช่นนี้ ขอถามว่าประกันภัยรถให้ความคุ้มครองหรือไม่ หากผู้ที่ถูกชนจะได้รับความคุ้มครองจากใครบ้าง

ขับรถบนทางเท้า ปรับเท่าไหร่ ?
กฎหมายมีบทลงโทษ ปรับเงินผู้ที่ขับรถบนทางเท้าคือ เนื่องจากที่ผ่านมา มีผู้ทำผิดขับรถบนทางเท้าโดยเฉลี่ยมากกว่า 20,000 คน และได้ทำการปรับผู้กระทำความผิดเป็นเงินกว่า 11,000,000 บาท (จากกฎหมายเดิมที่ปรับเงินจาก 500 บาทเป็น 1,000 บาทเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา ) และด้วยผู้ที่ทำผิดยังคงฝ่าฝืนด้วยความสะดวกสบายของตัวเอง ดังนั้น จึงได้มีประกาศกฎหมาย การขึ้นค่าปรับจอดและขับขี่รถบนทางเท้าจาก 1,000 บาท เป็น 2,000 บาท โดยได้มีผลมาตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2562

กรณีขับรถบนทางเท้าแล้วชนคน กฎหมายมีบทลงโทษผู้ขับขี่ ดังนี้
จากการกระทำของผู้ขับขี่บนทางเท้าและชนคนจนได้รับบาดเจ็บ มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43(4), 157, ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 390 โทษสูงสุด จำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าได้รับบาดเจ็บสาหัส ถือว่าเป็นความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 300 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และยังถือว่าผิดข้อหาขับรถบนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันควร ตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (7), 157, พรบ รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 มาตรา 17, 56 โทษสูงสุดปรับไม่เกิน 5,000 บาท

ขับรถบนทางเท้าแล้วชนคน ประกันคุ้มครองหรือไม่
ต้องขออธิบายถึงประเภทของประกันภัยรถยนต์สำหรับกรณีขับรถบนทางเท้าแล้วชนคน ประกันคุ้มครองหรือไม่แบ่งออกเป็น 2 ประเภทประกันภัยคือ
1. ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 หรือ พ.ร.บ. ได้ให้ความคุ้มครองทุกคนที่ประสบภัย ไม่เฉพาะแค่คนใช้ท้องถนนทั่วไป แต่หมายถึงทุกคนที่ได้รับอันตรายจากรถ รวมถึงผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คู่กรณีและบุคคลที่สามทั้งหมด เพื่อเป็นหลักประกันพื้นฐานให้กับคนไทยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ท้องถนน โดยกรณีนี้ ผู้ประสบภัยจากรถมีสิทธิประโยชน์ตามวงเงินดังนี้

  • กรณีบาดเจ็บ เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในวงเงินตามที่รักษาจริงไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน
  • กรณีทุพพลภาพหรือสูญเสียอวัยวะ ใช้สิทธิกรณีทุพพลภาพหรือสูญเสียอวัยวะได้จำนวน 35,000 บาทต่อคน
  • กรณีถึงแก่ชีวิต เบิกจ่ายเป็นค่าปลงศพจำนวน 35,000 บาทต่อคน
2. ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ สำหรับประกันภัยประเภทนี้เราจะแบ่งประเภทของความเสี่ยงตามที่ผู้ซื้อต้องการแบกรับไว้เอง เช่น ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 คือเรียกได้ว่าครอบคลุมทั้งหมดที่เกี่ยวกับภัยทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้นกับรถของเราในทุกกรณี ไม่ว่าจะเกิดจากคู่กรณีหรือไม่มี บริษัทประกันภัยจะรับความเสี่ยงนี้ทั้งหมดโดยให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันภัยทั้งหมด หรือ ประกันภัยรถยนต์ตามแต่ละประเภทเลยที่ผู้ซื้อต้องการเช่น ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2+ 3+ บริษัทประกันจะคุ้มครองตามเงื่อนไขที่ซื้อประกันไว้เลย

เหตุการณ์ ขับรถบนทางเท้าแล้วชนคน ไม่ควรที่จะเกิดขึ้นบนท้องถนน แต่ด้วยความเห็นแก่ตัวของผู้ขับขี่ที่ไม่ทำตามกฎระเบียบการจราจรที่วางไว้ จึงสร้างความเดือดร้อนให้แก่คนที่เดินบนทางเท้าเป็นอย่างมาก ดังนั้นผู้ที่ทำผิดต้องได้รับโทษทางกฎหมายจราจรปรับไม่เกิน 2,000 บาท
สำหรับผู้ที่ถูกรถชนก็จะได้รับความคุ้มครองจากประกันภัยภาคบังคับ ได้รับจากประกันภัยของรถมอเตอร์ไซด์ที่ขับมาชน โดยจ่ายค่าเสียหายตามจริงแต่ไม่เกินวงเงินคุ้มครอง ซึ่งถ้าคนเจ็บมีค่ารักษา 100,000 บาท แต่ประกันจ่ายแค่ 50,000 บาท คนขับรถมอเตอร์ไซด์จ่ายอีก 50,000 บาท และยังสามารถเรียกร้องค่าเสียหายส่วนอื่น ๆ ได้อีก

สำหรับใครที่สนใจจะสมัครสมาชิกกับศรีกรุงโบรคเกอร์ จองสอบบัตรนายหน้า จองอบรมต่ออายุบัตรนายหน้า  สามารถสมัครสมาชิกศรีกรุงโบรคเกอร์ได้ที่เว็บไซต์  www.srikrungmentor.com  หรือแอดไลน์มาที่  @srikrungmentor  เพียงกดเพิ่มเพื่อนที่  https://lin.ee/5hl2T56  หรือติดต่อสมัครสมาชิกกับศรีกรุงปทุมธานี ร้านดีดีศูนย์รวมประกันภัย  รังสิตคลองสาม  โทร.080-2951830 / 080-2956052 /061-8235619

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้