ค่าเสียหายส่วนแรกของประกันภัยรถยนต์คืออะไร

286 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ค่าเสียหายส่วนแรกของประกันภัยรถยนต์คืออะไร

ทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 แต่ทำไมเวลาเคลมต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก (Excess) นี่คือคำถามที่เจ้าของรถและผู้ที่ทำประกันรถยนต์สงสัยว่าคืออะไร ทำไมเราจึงต้องควักกระเป๋าจ่าย รวมถึงจะมีข้อยกเว้นที่เราไม่จำเป็นต้องจ่ายบ้างหรือไม่? นอกจากนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับค่าเสียหายส่วนแรกแบบ Deductible ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยให้เราประหยัดค่าประกันรถยนต์ได้ในแต่ละปี

เคลมประกันแบบไหน ทำไมต้องเสียค่าเสียหายส่วนแรก
สำหรับคนใช้รถคงน่าจะเคยได้ยินเรื่อง “ค่าเสียหายส่วนแรก” กันมาบ้างสำหรับผู้ทำประกันภัยรถยนต์ ซึ่งค่าเสียหายส่วนแรกหรือค่า Excess นี้ไม่ได้มีแค่ประเภทเดียว เพราะสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท และเงื่อนไขการจ่ายก็ยังแตกต่างกันออกไปอีกด้วย ดังนั้นคนใช้รถจึงต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่าค่าเสียหายส่วนแรกทำไมต้องจ่าย และต้องจ่ายในกรณีเคลมแบบไหนบ้าง
ประเภทของค่าเสียหายส่วนแรก

  1. ค่าเสียหายส่วนแรกแบบสมัครใจ (Deductible) คือ จำนวนเงินที่ระบุชัดเจนว่าผู้ขับขี่ต้องชำระหากมีการเคลมประกันเกิดขึ้น โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 1,000 – 5,000 บาท ยิ่งเลือกชำระค่าเสียหายส่วนแรกสูงเบี้ยประกันก็จะยิ่งถูกลง อย่างไรก็ตามหากต้องการเคลมประกันเมื่อไร ก็ต้องดำเนินการชำระค่าเสียหายส่วนแรกตามที่ตกลงไว้ก่อนจึงจะสามารถดำเนินการซ่อมรถและเคลมประกันได้ 
  2. ค่าเสียหายส่วนแรก ( Excess) คือ จำนวนเงินที่ต้องชำระเพิ่มเมื่อเคลมประกันชั้น 1 หรือเคลมประกันที่คุ้มครองเต็มจำนวนแต่ไม่มีคู่กรณี เช่น กรณีรถเกิดรอยขีดข่วน ชนเสาไฟฟ้า ต้นไม้ล้มทับ เป็นต้น ซึ่งค่า Excess ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 1,000 บาท ตัวอย่างกรณีอุบัติเหตุที่ต้องชำระค่า Excess ที่สามารถเห็นได้บ่อย ๆ คือ ยางระเบิดเพราะตะปู เศษแก้ว หรือสิ่งมีคมอื่น ๆ, ต้นไม้หรือเสาไฟฟ้าล้มทับรถยนต์, รอยขีดข่วนบนตัวถังที่เกิดโดยไม่ทราบสาเหตุ, การเกิดอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี เช่น ขับรถตกท่อระบายน้ำ ก็เข้ากรณีอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณีได้เช่นกัน
ทำไมต้องมีค่าเสียหายส่วนแรกภาคบังคับ
เจ้าของรถยนต์อาจจะเกิดความสงสัยว่าทำไมจะต้องบังคับให้ผู้เอาประกันจ่ายค่า Excess ทั้ง ๆ ที่จ่ายเงินค่าเบี้ยประกันแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยแล้ว นั่นเป็นเพราะป้องกันกรณีที่ผู้เอาประกันแจ้งเคลมประกันทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจริง หรือจงใจทำให้เกิดอุบัติเหตุ เพื่อเหตุผลต่าง ๆ นานา เช่น ต้องการทำสีรถใหม่ นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มความระมัดระวังให้แก่ผู้ขับขี่ในการขับรถยนต์ให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท และไม่มี Mindset ที่ว่า “อย่างไรประกันก็จ่าย” นั่นเอง

ข้อดีของค่าเสียหายส่วนแรกภาคสมัครใจ

ข้อดีประการแรกคือ ผู้เอาประกันได้รับส่วนลดค่าเบี้ยประกันรถยนต์เพิ่มเติมตามจำนวนเงินที่ตกลงกันเอาไว้ ข้อดีประการที่สองคือ ทำให้ผู้ขับขี่รถยนต์ขับรถด้วยความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น ทำให้จำนวนอุบัติเหตุโดยรวมลดน้อยลงตามไปด้วย และข้อดีประการสุดท้ายคือ อุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดขึ้นภายในค่าเสียหายส่วนแรกจะไม่ถูกบันทึกเอาไว้ ทำให้เราสามารถได้ส่วนลดค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ในกรณีที่ไม่มีการเคลมในปีนั้นอีกด้วย

สำหรับผู้ที่ต้องการลดค่าเบี้ยประกันด้วยการชำระค่าเสียหายส่วนแรกภาคสมัครใจ สามารถสอบถามได้กับโบรกเกอร์ ตัวแทนประกันภัยรถยนต์ หรือบริษัทประกันภัย เพื่อรับผลประโยชน์ในส่วนนี้ได้ก่อนทำประกันภัยรถยนต์

ค่าเสียหายส่วนแรกในประกันภัยอื่น ๆ

นอกจากประกันภัยรถยนต์แล้ว ในการซื้อประกันภัยอื่น ๆ อย่างประกันสุขภาพที่ผู้เอาประกันจ่ายเป็นรายปี ก็มีการเปิดให้ผู้เอาประกันชำระค่าเสียหายส่วนแรกเองเช่นกัน ซึ่งก็จะช่วยลดค่าเบี้ยประกันสุขภาพรายปีให้ลดลงได้อีกด้วย

ในกรณีของเบี้ยประกันสุขภาพจะมีความพิเศษตรงที่ข้าราชการหรือพนักงานประจำโดยส่วนใหญ่จะมีสวัสดิการหรือประกันสุขภาพกลุ่มคอยดูแลอยู่แล้ว ทำให้การยินยอมจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกภาคสมัครใจจึงเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระในแต่ละปีโดยที่ผู้เอาประกันอาจจะไม่ต้องเสียประโยชน์เลย ดังนั้นหากผู้เอาประกันมีสวัสดิการของภาครัฐหรือของบริษัทคุ้มครองหรือดูแลค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ การจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกไปก่อนก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุ้มค่า
 
สำหรับใครที่สนใจจะสมัครสมาชิกกับศรีกรุงโบรคเกอร์  สามารถสมัครสมาชิกศรีกรุงโบรคเกอร์ได้ที่เว็บไซต์  www.srikrungmentor.com  หรือแอดไลน์มาที่  @srikrungmentor  เพียงกดเพิ่มเพื่อนที่  https://lin.ee/5hl2T56  หรือติดต่อสมัครสมาชิกศรีกรุงสาขาปทุมธานี ดีดีศูนย์รวมประกันภัย  รังสิตคลองสาม 
โทร080-2951830 / 080-2956052 /061-8235619

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้